ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 การท่องเที่ยว คือหัวใจสำคัญ โดยส่วนหนึ่งขับเคลื่อนได้ด้วย ‘ช้างไทย’ รายได้ส่วนใหญ่มาจากการที่นักท่องเที่ยวต้องการมาสัมผัสกับช้างไทย แต่หลังจากเกิดวิกฤตการณ์โรคระบาดนี้ ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกประเทศไม่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้🚙🚗

          อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประสบปัญหาหนัก ไม่มีรายได้เข้ามาในระบบ การท่องเที่ยวด้วยช้างเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้อง    แบกรับปัญหา ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดูแลช้างมีปริมาณเท่าเดิม ผู้ประกอบการหลายแห่งต้องลดจำนวนพนักงานลง บางแห่งลดเงินเดือนพนักงานลง บางปางช้างที่ใช้บริการช้างเช่า ต้องปล่อยให้ช้างกลับบ้าน หรือกลับสู่แหล่งที่อยู่เดิม โดยปกติเจ้าของช้างจะนำช้างกลับบ้านในช่วงเวลาที่ฤดูที่มีนักท่องเที่ยวน้อยอยู่แล้ว (Low season) แต่ในครั้งนี้ช้างเดินทางกลับบ้านเป็นจำนวนมาก ในคราวเดียว ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่อาศัยของช้างไม่เพียงพอ พื้นที่ที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับช้างปริมาณมากๆได้ เพราะหลายพื้นที่ เปลี่ยนเป็นที่นา แปลงเกษตร  สวน บ้านเรือน และถนนหนทาง หรือบางที่จะยังคงเดิมแต่ปนเปื้อนไปด้วยยาฆ่าแมลง สารเคมีต่าง ๆ จากสวน ไร่นา ข้างเคียง ไม่เหมาะต่อการดำรงอยู่ของช้างอีกต่อไป อีกทั้ง ควาญช้างบางคนเมื่อกลับบ้านต้องหันไปทำอาชีพอื่น เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวและดูแลช้างในเวลาเดียวกัน ทำให้ดูแลช้างไม่ได้เต็มที่ ช้างจึงมีสุขภาพแย่ลง ในช่วงที่ผ่านมาทางเจ้าของช้าง ควาญช้างเจ้าของกิจการ ต่างช่วยเหลือดูแลกันตามสภาพ บ้างก็ได้รับความช่วยเหลือทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงการขอรับบริจาคจากประชาชนทั่วไป 💁🏻‍♀️💁🏻

          ในปัจจุบันพบว่ามีปางช้างปิดตัวมากกว่าครึ่ง เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยว ในช่วงวิกฤติต้องขอขอบคุณทุกท่าน ทุกหน่วยงานที่มี  ส่วนร่วมในการดูแลช้างไทย ทั้ง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่ทำโครงการ ‘ช่วยชุมชน ช่วยช้าง ช่วยชาติ’ เพื่อสนับสนุนงบประมาณสำหรับการจัดซื้ออาหารช้างจากชุมชนเกษตรผู้ปลูกอาหารช้าง ในแหล่งต่าง ๆ ทั่วประเทศ สมาคมสหพันธ์ช้างไทย และมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยเป็นตัวกลางในการประสานความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และจากประชาชนทั่วไป กระจายไปให้กับช้าง ชุมชนคนเลี้ยงช้างทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือสิ่งของ ยา เวชภัณฑ์ อาหารช้าง หรือกิจกรรมระดมทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Thai Elephant Medicine fund, President of Asian Elephant Support foundation, Durga wildlife fund (USA), มูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง, มูลนิธิพลังงานไทย, สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่ (สทช.), สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย), สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. สุโขทัยจำกัด, กองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทย, กองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทยช่วยเหลือ ลูกควาญช้างไทย , สมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน, บริษัทไทยเบฟเวอเลจ จำกัด (มหาชน), บริษัท เชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิต, บริษัท Freewill จากประเทศญี่ปุ่น, PASAYA, True Corporation, เครือเจริญโภคภัณฑ์, บริษัทแสนสิริ, คุณหญิงแจ่มใส และคุณกัญจนา ศิลปอาชา, ท่านวุฒิสมาชิก วีระศักดิ์ โควสุรัตน์, คุณก้อง สหรัถ และมูลนิธิคุณ, คุณพงศธร ธรรมวัฒนะ, คุณกัน อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ และแฟนคลับ, คุณเป๊ก ผลิตโชค อายนบุตร และแฟนคลับ, น้องไบรท์ วชิรวิชญ์ และแฟนคลับ, คุณพิชามญช์ ก้อนสมบัติ, โครงการ เยียวยาตาน้องช้างของคลินิกช้างน้อย สัตวแพทย์ เฉพาะทางโรคตา จ.เชียงใหม่, เพจ Run Anytime และนักวิ่ง, กลุ่มนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี😊💕

   

          รวมไปถึงหน่วยงานราชการ และองค์กรต่างๆ ที่ร่วมด้วยช่วยกันในการช่วยดูแลสุขภาพช้างทั่วประเทศอย่างศูนย์วิจัยช้างและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, โรงพยาบาลช้างและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มูลนิธิช้างภาคใต้, มูลนิธิโกลเด้นไทรแองเกิ้ลเอเชี่ยน เอเลเฟ่น, โรงพยาบาลสัตว์เนินพลับหวาน จ.ชลบุรี และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ที่รับผิดชอบด้านการดูแลรักษาพยาบาลช้างเจ็บป่วย โดยมี โรงพยาบาลช้าง ที่ จ.ลำปาง และ จ.กระบี่ ซึ่งทั้งสองแห่งได้ร่วมกันดูแลสุขภาพช้างตั้งแต่เริ่มเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 จนถึงปัจจุบันกว่า 200 เชือก ที่รับเข้ามารักษาในโรงพยาบาลช้าง โดยมากกว่าครึ่งเป็นช้างป่วยจากปางช้างเอกชน และมากกว่า 3,173 เชือก ที่สัตวแพทย์ได้ออกตรวจเยี่ยมตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งโดยมากพบปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงดู ปัญหาเรื่องอาหารและโภชนาการ ซึ่งในเบื้องต้นทางสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ เองได้ช่วยกระจายอาหารที่ได้รับบริจาคให้กับช้างที่มีปัญหาไปหลายสิบตัน รวมทั้งได้ช่วยเหลือช้างอาละวาดและหลุดจากการควบคุมมากกว่า 40 เชือก🤩🎉

          เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องราวที่อยากเล่าสู่กันฟังว่าคนไทยร่วมมือกันช่วยเหลือช้างไทยในภาวะวิกฤตแบบนี้อย่างไรบ้าง  อย่างไรก็ดีในระยะยาวเราคงจะต้องเดินหน้ากันต่อไปให้ได้อย่างมั่นคง เพื่อผ่านวันที่เลวร้ายนี้ไปได้ ดังเช่นในสมัยก่อน ที่เราปรับเปลี่ยนผ่านจากยุคช้างทำไม้ ไปสู่ช้างเพื่อการท่องเที่ยว ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากช้างตกงาน  ควาญช้างตกงาน เกิดปัญหาช้างเร่ร่อน แต่ภายหลังจากเปิดประเทศมีชาวต่างชาติเข้ามา ทำให้เกิดการท่องเที่ยวขึ้นช้างมีที่ยืนอีกครั้งในสังคมไทย 💙💚

          ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเดิม ๆ การหาทางว่าเราจะก้าวสู่ยุคใหม่ได้อย่างไร เราจะประคับประคองให้ช้างสามารถอยู่รอดได้ในสภาวะปัจจุบัน การสร้างคุณค่าเพื่อให้ช้างมีมูลค่าอย่างเหมาะสม การสร้าง Innovation ใหม่ ๆ หากิจกรรมการเรียนรู้ที่มีช้างเข้ามาเกี่ยวข้อง การสร้างโปรแกรมเสริมสร้างสุขภาพต่าง ๆ รวมทั้งการนำเสนอช้าง ผ่านทาง Social Media ต่าง ๆ เพื่อจะได้เข้าสู่ยุคใหม่ที่มีการคาดการณ์ว่าจะเป็น Elephant Care Tourism ต่อไปหรือในวันหน้าหากการท่องเที่ยวไม่ใช่กลไกสำคัญในการดูแลช้างของเราอีกต่อไป คล้ายดังเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับช้างลากไม้ในอดีต เพราะหากว่าในวันนี้การท่องเที่ยวกำลังจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคอีกยุคหนึ่ง เราจะอยู่กันอย่างไรในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่ต้องการจะดูแลเลี้ยงดูช้างไทยทั้ง 7,000 ตัวนี้ โดยที่ช้างเรายังคงมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสวัสดิภาพที่เป็นที่ยอมรับได้✅

          💚💙คนไทยไม่เคยทอดทิ้งช้าง และทุกหน่วยงานก็เร่งมือในการช่วยเหลือ และรับมือกับปัญหาที่เกิดมาตลอด เราก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือช้างได้ ประเทศไทยของเราจะผ่านพ้นสถานการณ์ที่เลวร้ายนี้ไปได้ด้วยกันอย่างแน่นอน😊

ช่องทางการติดตามรายละเอียดและข่าวสารข้อมูลเพิ่มเติม

📱 Twitter : https://bit.ly/3seUMml 

📱 Instargram : https://bit.ly/2K9PDuI 

#7greens

#เที่ยวไทยให้หายคิดถึง

#ท่องเที่ยววิถีใหม่แบบใส่ใจสิ่งแวดล้อม

#7Greensท่องเที่ยวสดใสใส่ใจสิ่งแวดล้อม