กิจกรรมสีเขียว
สนุกกับกิจกรรมท่องเที่ยวหลากหลาย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมท่องเที่ยวที่มีความสอดคล้องกลมกลืนกับคุณค่าของทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว เป็นกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลิน หรือสนุกสนาน ให้โอกาสในการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์แก่นักท่องเที่ยว โดยส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้วางไว้เป็นแนวทางในการส่งเสริกิจกรรมสีเขียวสำหรับทุกภาคส่วนนำไปใช้ในการปฏิบัติ คือ (สามารถอ่านเพิ่มเติม / ดาวน์โหลดได้ด้านล่าง)
environmentally friendly travel activities can be equally pleasant and fun let alone add on to travelers’ knowledge and experience while affecting the natural resource and environment the least.
สำหรับชุมชนเจ้าของพื้นที่
แนวปฏิบัติที่ 1 เจ้าของแหล่งท่องเที่ยวทุกประเภทจัดให้มีกิจกรรมท่องเที่ยวที่สอดคล้องกลมกลืนกับคุณค่าและความโดดเด่นของทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมมากที่สุด และสร้างผลกระทบทางลบน้อยที่สุด
- มีการประเมินศักยภาพของทรัพยากรท่องเที่ยวโดยการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาส และข้อจำกัด เพื่อใช้เป็นฐานในการแยกประเภทของกิจกรรมท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและจัดให้มีขึ้นในแหล่งท่องเที่ยว
- จัดทำแผนและพัฒนาให้มีกิจกรรมท่องเที่ยว เฉพาะที่มั่นใจได้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบทางลบต่อความโดดเด่นหรือคุณค่าของทรัพยากร หรือสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้นและบริเวณใกล้เคียง
- พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับกิจกรรมท่องเที่ยวที่จัดขึ้นเท่าที่จำเป็น โดยมีปริมาณหรือขนาดที่เหมาะสมกับขีดความสามารถรองรับได้ของบริเวณนั้น เช่น ห้องน้ำ ลานจอดรถ ท่าเทียบเรือ สมอยึดเรือ เป็นต้น
- มีการแจ้งเตือนหรือแจกข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบ หรือข้อควรปฏิบัติ-ไม่ควรปฏิบัติ เกี่ยวกับกิจกรรม ท่องเที่ยวแต่ละประเภทให้นักท่องเที่ยวรับทราบ พร้อมอธิบายเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องการความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวให้ปฏิบัติตาม
- กิจกรรมท่องเที่ยวที่จัดให้มีขึ้นต้องเป็นที่ยอมรับของคนในท้องถิ่นโดยกิจกรรมเหล่านั้นไม่รบกวนความสงบสุขของคนส่วนใหญ่ ไม่ขัดต่อกฎหมาย วัฒนธรรม และศีลธรรมอันดีงาม
- จัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี คอยอำนวยความสะดวกและควบคุมพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการประกอบกิจกรรมท่องเที่ยว เช่น
- คอยกำชับให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือข้อควรปฏิบัติ-ไม่ควรปฏิบัติ ระหว่างที่นักท่องเที่ยวประกอบกิจกรรมกำหนดขนาดของกลุ่มนักท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับประเภทของกิจกรรม เช่น กิจกรรมเดินป่าระยะไกล (hiking/trekking) ควรมีขนาดของกลุ่มไม่เกิน 10 คน กิจกรรมล่องแก่งมีขนาดไม่เกิน 8 คนต่อแพ เป็นต้น
- กำหนดรอบหมุนเวียนของการประกอบกิจกรรมแต่ละประเภท เช่น การเดินป่าระยะไกลแต่ละกลุ่มควรเดินห่างกันไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร (หรือราว 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง) เป็นต้น
- กำหนดให้นักท่องเที่ยวตั้งค่ายพักแรม (กรณีกิจกรรมเดินป่าระยะไกล) ให้ห่างจากเส้นทางเดินหรือทางน้ำธรรมชาติไม่น้อยกว่า 100 เมตร และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีธรรมชาติเปราะบางหรือมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรม
- กำชับนักท่องเที่ยวให้ช่วยรักษาทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมขณะประกอบกิจกรรม เช่น ไม่เดินลัดเส้นทาง ไม่เก็บกล้วยไม้หรือถอนลูกไม้ระหว่างเดินหรือปีนป่ายหน้าผา ไม่ขีดเขียนหรือแกะสลักหรือพ่นสีตามหินผาและต้นไม้ เป็นต้น
- ควบคุมไม่ให้นักท่องเที่ยวส่งเสียงดังอันเป็นการรบกวนสัตว์ป่าและนักท่องเที่ยวด้วยกันเองในขณะประกอบกิจกรรม คอยกำชับนักท่องเที่ยวให้ช่วยเก็บรวบรวมขยะ และนำไปทิ้งในที่ที่จัดไว้โดยไม่มีเศษเหลือตกค้างที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าหรือเป็นมลภาวะทางสายตา
แนวปฏิบัติที่ 2 กิจกรรมท่องเที่ยวที่จัดให้มีขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ให้ประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของท้องถิ่นแก่นักท่องเที่ยวได้มากที่สุด
- จัดให้มีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นแก่นักท่องเที่ยวเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของท้องถิ่นโดยใช้สื่อแบบต่างๆ เช่น เว็บไซต์ คู่มือเดินทางท่องเที่ยว แผ่นพับ ใบปลิว เป็นต้น
- สอดแทรกข้อมูลความรู้หรือเรื่องราวที่น่าสนใจให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างที่ประกอบกิจกรรมประเภทต่างๆ อาทิ
- จัดให้มีนักสื่อความหมายหรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่นคอยตอบคำถาม และให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องขณะที่นักท่องเที่ยวเข้าร่วมกิจกรรมเดินป่า ชมถ้ำ ล่องเรือ ล่องแก่ง เดินชมแหล่งประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชุมชนท้องถิ่น ฯลฯ
- จัดให้มีป้ายสื่อความหมายหรือนิทรรศการตามจุดชมวิว เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ บริเวณที่มีระบบนิเวศเปราะบาง บริเวณโป่งสัตว์ บริเวณที่มีชนิดพันธุ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือหายากบริเวณที่มีชนิดพันธุ์พืชที่หายากหรือพบเฉพาะถิ่น ฯลฯ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติ รวมถึงเพิ่มความระมัดระวังในพฤติกรรมของตนเอง
- กรณีที่เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี หรือชุมชนท้องถิ่น นอกจากจะจัดให้มีป้ายสื่อความหมายหรือนิทรรศการแล้ว อาจจัดให้มีการแสดงและการบรรยายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือประเพณีหรือวัฒนธรรมให้แก่นักท่องเที่ยว
- จัดให้มีหน่วยข้อมูลพร้อมเจ้าหน้าที่ คอยให้ความปลอดภัย ตอบคำถามและให้ความรู้เรื่องต่างๆ ประจำอยู่ตามบริเวณลานกางเต้นท์ จุดชมวิว บริเวณที่มีนักท่องเที่ยวกระจุกตัวอยู่จำนวนมาก เป็นต้น
- อาจจัดให้มีหน่วยข้อมูลเคลื่อนที่ไปให้ข้อมูลความรู้ และตอบคำถามตามจุดชมวิว จุดดำน้ำดูปะการัง บริเวณอื่นที่มีนักท่องเที่ยวกระจุกตัวอยู่จำนวนมาก เป็นต้น
สำหรับนักท่องเที่ยว
แนวปฏิบัติคือ มีการปฏิบัติที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ
- มีการจัดซื้อสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยลดการใช้พลังงาน หรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด ประกอบด้วย
- เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
- เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
- เลือกซื้อผลิตภัณฑ์แบบที่เติมได้
- เลือกซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถส่งกลับคืนได้ เช่น ขวดแก้ว เป็นต้น
- เลือกซื้อสินค้าที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล
- เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากเขียวหรือมีฉลากคาร์บอน (ผลิตภัณฑ์ที่มีกระบวนการผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณน้อย) หรือผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ฯลฯ
- เลือกซื้อสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
- เลือกซื้ออุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน (เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลากประหยัดไฟเบอร5 หรือมีฉลากอัตราการใช้ไฟ เป็นต้น) และอุปกรณ์ที่ประช่วยหยัดน้ำ
- เลือกซื้อยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น รถที่ใช้เชื้อเพลิงไฮบริด ไบโอดีเชล เชื้อเพลิงที่เผาไหม้สะอาด เป็นต้น
- เลือกซื้อสินค้าที่มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมครบวงจร (สินค้าที่ดำเนินการควบคุมตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต และการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุแล้ว โดยไม่ให้เกิดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม)
- มีการกำหนดให้ซื้ออาหารที่ผลิตได้ในท้องถิ่นตามแต่ละฤดูกาล เพื่อลดการใช้พลังงานในการขนส่งและเก็บรักษา
ปัจจุบันกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบไปอย่างหลากหลาย สามารถให้ทั้งความสนุกสนานเพลิดเพลินและนักท่องเที่ยวก็ยังได้เรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมได้ไปพร้อมๆกัน ประเด็นสำคัญคือ การนำเอาจุดแข็งของพื้นที่นั้นมาเป็นฐานในการต่อยอด ผ่านกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็มีการจัดกิจกรรมมากมายทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด อาทิ โครงการปั่นสองล้อเลาะผ่อธรรมชาติ เมืองปราชญ์ลับแล จ.อุตรดิตถ์ โดยการจัดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ชมวิถีชีวิตของชาวชุมชนโดยใช้จักรยานเพื่อสะดวกในการแวะเวียนเข้าสู่สถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่พักอาศัยของคนในท้องถิ่น การใช้จักรยานนอกจากไม่อึกทึกสร้างมลภาวะเท่ากับเป็นการเคารพต่อผู้คนและสถานที่ที่ได้เข้าไปเยี่ยมเยือน การได้ชมความสามารถทางเชิงช่างของชาวบ้าน การเรียนรู้วิธีแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และได้ร่วมลงมือทำ โดยการร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำ ก็ทำให้ได้ทั้งความสนุก สร้างประโยชน์ และแน่นอนคือความสุขใจที่ได้ลงแรงและชื่นชมผลของความสำเร็จไปพร้อมๆกัน
สำหรับเจ้าของธุรกิจนำเที่ยว
แนวปฏิบัติที่ 1 จัดให้มีกิจกรรมท่องเที่ยวที่สอดคล้องกลมกลืน กับคุณค่าและความโดดเด่นของทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมมากที่สุด และสร้างผลกระทบทางลบน้อยที่สุด โดยการ
- มีการประเมินศักยภาพของทรัพยากรท่องเที่ยวโดยการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาส และข้อจำกัด เพื่อใช้เป็นฐานในการแยกประเภทของกิจกรรมท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและจัดให้มีขึ้นในแหล่งท่องเที่ยว
- จัดทำแผนและพัฒนาให้มีกิจกรรมท่องเที่ยว เฉพาะที่มั่นใจได้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบทางลบต่อความโดดเด่นหรือคุณค่าของทรัพยากร หรือสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้นและบริเวณใกล้เคียง
- พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับกิจกรรมท่องเที่ยวที่จัดขึ้นเท่าที่จำเป็น โดยมีปริมาณหรือขนาดที่เหมาะสมกับขีดความสามารถรองรับได้ของบริเวณนั้น เช่น ห้องน้ำ ลานจอดรถ ท่าเทียบเรือ สมอยึดเรือ เป็นต้น
- มีการแจ้งเตือนหรือแจกข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบ หรือข้อควรปฏิบัติ-ไม่ควรปฏิบัติ เกี่ยวกับกิจกรรมท่องเที่ยวแต่ละประเภทให้นักท่องเที่ยวรับทราบ พร้อมอธิบายเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องการความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวให้ปฏิบัติตาม
- กิจกรรมท่องเที่ยวที่จัดให้มีขึ้นต้องเป็นที่ยอมรับของคนในท้องถิ่นโดยกิจกรรมเหล่านั้นไม่รบกวนความสงบสุขของคนส่วนใหญ่ ไม่ขัดต่อกฎหมาย วัฒนธรรม และศีลธรรมอันดีงาม
- จัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี คอยอำนวยความสะดวกและควบคุมพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างน้อย เช่น
- คอยกำชับให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือข้อควรปฏิบัติ-ไม่ควรปฏิบัติ ระหว่างที่นักท่องเที่ยวประกอบกิจกรรมกำหนดขนาดของกลุ่มนักท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับประเภทของกิจกรรม เช่น กิจกรรมเดินป่าระยะไกล (hiking/trekking) ควรมีขนาดของกลุ่มไม่เกิน 10 คน กิจกรรมล่องแก่งมีขนาดไม่เกิน 8 คนต่อแพ เป็นต้น
- กำหนดรอบหมุนเวียนของการประกอบกิจกรรมแต่ละประเภท เช่น การเดินป่าระยะไกลแต่ละกลุ่มควรเดินห่างกันไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร (หรือราว 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง) เป็นต้น
- กำหนดให้นักท่องเที่ยวตั้งค่ายพักแรม (กรณีกิจกรรมเดินป่าระยะไกล) ให้ห่างจากเส้นทางเดินหรือทางน้ำธรรมชาติไม่น้อยกว่า 100 เมตร และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีธรรมชาติเปราะบางหรือมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรม
- กำชับนักท่องเที่ยวให้ช่วยรักษาทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมขณะประกอบกิจกรรม เช่น ไม่เดินลัดเส้นทาง ไม่เก็บกล้วยไม้หรือถอนลูกไม้ระหว่างเดินหรือปีนป่ายหน้าผา ไม่ขีดเขียนหรือแกะสลักหรือพ่นสีตามหินผาและต้นไม้ เป็นต้น
- ควบคุมไม่ให้นักท่องเที่ยวส่งเสียงดังอันเป็นการรบกวนสัตว์ป่าและนักท่องเที่ยวด้วยกันเองในขณะประกอบกิจกรรม
- คอยกำชับนักท่องเที่ยวให้ช่วยเก็บรวบรวมขยะ และนำไปทิ้งในที่ที่จัดไว้โดยไม่มีเศษเหลือตกค้างที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าหรือเป็นมลภาวะทางสายตา
แนวปฏิบัติที่ 2 กิจกรรมท่องเที่ยวที่จัดให้มีขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวทุกประเภท ให้ประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และ/หรือวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของท้องถิ่นแก่นักท่องเที่ยวได้มากที่สุด
- จัดให้มีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นแก่นักท่องเที่ยวเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและ/หรือวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของท้องถิ่นโดยใช้สื่อแบบต่างๆ เช่น เว็บไซต์ คู่มือเดินทางท่องเที่ยว แผ่นพับ ใบปลิว เป็นต้น
- สอดแทรกข้อมูลความรู้หรือเรื่องราวที่น่าสนใจให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างที่ประกอบกิจกรรมประเภทต่างๆ อาทิ
- จัดให้มีนักสื่อความหมายหรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่นคอยตอบคำถาม และให้ความรู้ความ เข้าใจที่ถูกต้องขณะที่นักท่องเที่ยวเข้าร่วมกิจกรรมเดินป่า ชมถ้ำ ล่องเรือ ล่องแก่ง เดินชมแหล่งประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชุมชนท้องถิ่น ฯลฯ
- กรณีที่เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี หรือชุมชนท้องถิ่น อาจจัดให้มีการแสดงและการบรรยายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือประเพณีหรือวัฒนธรรมให้แก่นักท่องเที่ยว
- อาจจัดให้มีหน่วยข้อมูลเคลื่อนที่ไปให้ข้อมูลความรู้ และตอบคำถามตามจุดชมวิว จุดดำน้ำดูปะการัง บริเวณอื่นที่มีนักท่องเที่ยวกระจุกตัวอยู่จำนวนมาก เป็นต้น
แนวปฏิบัติที่ 3 บริษัทหรือผู้ประกอบการนำเที่ยว จัดรายการนำเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดการใช้พลังงาน หรือใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ หรือใช้พลังงานสะอาด
- มีการนำเอกลักษณ์หรือความโดดเด่นของทรัพยากร หรือสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวพร้อมการดำเนินงานของบริษัทและแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการตลาดและประชาสัมพันธ์
- มีการประสานและวางแผนพัฒนารายการนำเที่ยวร่วมกับเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว และผู้ประกอบการนำเที่ยวรายอื่นๆ เพื่อช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมและควบคุมพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว
- มีการแจกข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมท่องเที่ยว พร้อมกฎระเบียบหรือข้อควรปฏิบัติ-ไม่ควรปฏิบัติของแหล่งท่องเที่ยวในรายการนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวได้รับทราบ
- กำชับนักท่องเที่ยวให้ความร่วมมือปฏิบัติตามกฎระเบียบ
- กำชับนักท่องเที่ยวให้ความร่วมมือปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือข้อควรปฏิบัติ-ไม่ควรปฏิบัติระหว่างที่เข้าไปใช้พื้นที่เมื่อประกอบกิจกรรมต่างๆ
- จัดให้มีการฝึกอบรมพนักงานของบริษัทที่ร่วมไปกับการนำเที่ยวให้มีความรู้และทักษะในการรักษาสิ่งแวดล้อม และการควบคุมพฤติกรรมนักท่องเที่ยวไม่ให้สร้างความเสียหายหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่
- จัดให้มีการฝึกอบรมพนักงานของบริษัทที่ร่วมไปกับการนำเที่ยวให้มีความรู้และทักษะในการรักษาสิ่งแวดล้อม และการควบคุมพฤติกรรมนักท่องเที่ยวไม่ให้สร้างความเสียหายหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว
- กำหนดขนาดของกลุ่มนักท่องเที่ยวในรายการนำเที่ยวให้มีจำนวนเหมาะสมกับขีดความสามารถรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ และสามารถควบคุมพฤติกรรมที่จะไม่สร้างความเสียหาย หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
- มีนโยบายที่ไม่ส่งเสริม และไม่สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวซื้อสินค้า/ของที่ระลึกที่ทำมาจากทรัพยากรธรรมชาติที่หายาก หรือกำลังสูญพันธุ์ หรือมีแนวโน้มลดน้อยลง
- ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเลือกซื้อสินค้า/ของที่ระลึกที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และทำมาจากวัตถุดิบที่ชุมชนท้องถิ่นผลิตได้เอง เช่น ผลไม้ ผัก น้ำผึ้ง สินค้าหัตถกรรมชนิดต่างๆ เป็นต้น
- เลือกใช้บริการมัคคุเทศก์ที่เปี่ยมด้วยจรรยาบรรณ และมีความสามารถสอดแทรกให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติ ประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่นได้อย่างถูกต้องตรงกับความเป็นจริง พร้อมมีทักษะในเรื่องการอนุรักษ์เป็นอย่างดี
- มีสัดส่วนของมัคคุเทศก์เพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนนักท่องเที่ยวในกลุ่ม เลือกใช้บริการของคนท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ เช่น ที่พักแรม อาหาร มัคคุเทศก์ คนแบกหามสัมภาระ สัตว์ต่าง เป็นต้น
- ให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับคุณค่าความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยว การใช้ทรัพยากร และการรักษาสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชนท้องถิ่นโดยวิธีต่างๆ เท่าที่จะเป็นไปได้
- เลือกซื้อ/ เช่ายานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เลือกรถยนต์รุ่นที่ประหยัดพลังงานหรือสามารถใช้พลังงานอื่นทดแทนได้ เช่น รถไฮบริดที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือพลังงานชีวภาพ รถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
- หมั่นตรวจซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ เครื่องทำความเย็น-ความร้อน และอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดเพื่อให้การทำงานของยานพาหนะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และใช้พลังงานน้อยที่สุด
- ใช้น้ำอย่างประหยัดในการล้างหรือทำความสะอาดยานพาหนะ
- พนักงานขับขี่ยานพาหนะต้องผ่านการฝึกอบรมที่เน้นถึงความปลอดภัย และการขับขี่แบบประหยัดเชื้อเพลิง
- เลือกหรือกำหนดเส้นทางนำเที่ยวที่มีระยะทางสั้นที่สุด และไม่ออกนอกเส้นทางที่กำหนดโดยไม่จำเป็น เพราะนอกจากจะประหยัดเวลาในการเดินทางแล้วยังสามารถประหยัดการใช้เชื้อเพลิงได้ด้วย
แนวปฏิบัติที่ 4 มัคคุเทศก์อาชีพและมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ดำเนินกิจกรรมนำเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามกรอบจรรยาบรรณได้อย่างสูงสุด
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย กฎหมายและการดำเนินงานของหน่วยงาน หรือเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวซึ่งอยู่ในรายการนำเที่ยวเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและปณิธานของบริษัทนำเที่ยวที่ตนสังกัด หรือเข้าไปรับงานนำเที่ยวเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
- มีทัศนคติในวิชาชีพและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่
- ให้ความเคารพต่อแหล่งท่องเที่ยว และชุมชนท้องถิ่นโดยการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อควรปฏิบัติ-ไม่ควรปฏิบัติ ที่กำหนดขึ้นโดยเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวหรือชุมชนท้องถิ่น
- ปรับตัวให้เข้ากับประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการนำเที่ยว ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อมหรือก่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
- ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานหรือเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวในเรื่องต่อไปนี้
- กำชับนักท่องเที่ยวให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือข้อควรปฏิบัติ-ไม่ควรปฏิบัติระหว่างที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว และประกอบกิจกรรมต่างๆ
- ช่วยดูแลรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เช่น เก็บขยะและสิ่งปฏิกูล นำนักท่องเที่ยว เดินตาม เส้นทางที่จัดไว้ให้ กางเต้นท์พักแรมห่างจากทางน้ำและทางเดิน เป็นต้น
- คอยเตือนนักท่องเที่ยวให้ระมัดระวังพฤติกรรมที่อาจส่งผลเสียหาย หรือสร้างผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เช่น การเก็บกล้วยไม้ หิน เปลือกหอย เป็นต้น
- รายงานความผิดปกติที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือการกระทำผิดกฎระเบียบในแหล่งท่องเที่ยวให้เจ้าหน้าที่รับทราบ เช่น ไฟป่า แผ่นดินถล่ม ล่าสัตว์/ดักจับสัตว์ และพฤติกรรมเบี่ยงเบนอื่นๆ เป็นต้น
- ให้ข้อมูลและสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริงแก่นักท่องเที่ยว รวมถึงกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวช่วยสนับสนุนงานอนุรักษ์เมื่อมีโอกาส
- ส่งเสริมสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้และมีโอกาสสัมผัสวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด
- สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวใช้สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการของชุมชนท้องถิ่น เช่น ที่พักแรม ร้านอาหาร และบริการขนส่งแบบต่างๆ เป็นต้น
- สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวซื้อสินค้า/ของที่ระลึกที่ทำมาจากวัตถุดิบที่ผลิตได้เองในชุมชน เช่น เครื่องจักสาน เสื้อผ้า สิ่งทออื่นๆ เป็นต้น
- ไม่สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวซื้อสินค้าหรือของที่ระลึกที่ทำจากทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังจะหมดไป หรือหายากหรือมีแนวโน้มลดน้อยถอยลง
- สนับสนุนให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือในการอนุรักษ์ธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นอย่างเต็มความสามารถ
สำหรับเจ้าของธุรกิจท่องเที่ยว
การสร้าง กิจกรรมสีเขียว ในฐานะเจ้าของพื้นที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
แนวปฏิบัติที่ 1 จัดให้มีกิจกรรมท่องเที่ยวที่สอดคล้องกลมกลืนกับคุณค่าและความโดดเด่นของ ทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมมากที่สุด และสร้างผลกระทบทางลบน้อยที่สุด
- มีการประเมินศักยภาพของทรัพยากรท่องเที่ยวโดยการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาส และข้อจำกัด เพื่อใช้เป็นฐานในการแยกประเภทของกิจกรรมท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและจัดให้มีขึ้นในแหล่งท่องเที่ยว
- จัดทำแผนและพัฒนาให้มีกิจกรรมท่องเที่ยว เฉพาะที่มั่นใจได้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบทางลบต่อความโดดเด่นหรือคุณค่าของทรัพยากร หรือสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้นและบริเวณ ใกล้เคียง
- พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับกิจกรรมท่องเที่ยวที่จัดขึ้นเท่าที่จำเป็น โดยมีปริมาณหรือขนาดที่เหมาะสมกับขีดความสามารถรองรับได้ของบริเวณนั้น เช่น ห้องน้ำ ลานจอดรถ ท่าเทียบเรือ สมอยึดเรือ เป็นต้น
- มีการแจ้งเตือนหรือแจกข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบ หรือข้อควรปฏิบัติ-ไม่ควรปฏิบัติ เกี่ยวกับกิจกรรมท่องเที่ยวแต่ละประเภทให้นักท่องเที่ยวรับทราบ พร้อมอธิบายเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องการความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวให้ปฏิบัติตาม
- กิจกรรมท่องเที่ยวที่จัดให้มีขึ้นต้องเป็นที่ยอมรับของคนในท้องถิ่นโดยกิจกรรมเหล่านั้นไม่รบกวนความสงบสุขของคนส่วนใหญ่ ไม่ขัดต่อกฎหมาย วัฒนธรรม และศีลธรรมอันดีงาม
- จัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี คอยอำนวยความสะดวกและควบคุมพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการประกอบกิจกรรมท่องเที่ยว อาทิ
- คอยกำชับให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือข้อควรปฏิบัติ-ไม่ควรปฏิบัติ ระหว่างที่นักท่องเที่ยวประกอบกิจกรรมกำหนดขนาดของกลุ่มนักท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับประเภทของกิจกรรมเช่น กิจกรรมเดินป่าระยะไกล (hiking/trekking) ควรมีขนาดของกลุ่มไม่เกิน 10 คน กิจกรรมล่องแก่งมีขนาดไม่เกิน 8 คนต่อแพ เป็นต้น
- กำหนดรอบหมุนเวียนของการประกอบกิจกรรมแต่ละประเภท เช่น การเดินป่าระยะไกลแต่ละกลุ่มควรเดินห่างกันไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร (หรือราว 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง) เป็นต้น
- กำหนดให้นักท่องเที่ยวตั้งค่ายพักแรม (กรณีกิจกรรมเดินป่าระยะไกล) ให้ห่างจากเส้นทางเดินหรือทางน้ำธรรมชาติไม่น้อยกว่า 100 เมตร และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีธรรมชาติเปราะบางหรือมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรม
- กำชับนักท่องเที่ยวให้ช่วยรักษาทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมขณะประกอบกิจกรรม เช่น ไม่เดินลัดเส้นทาง ไม่เก็บกล้วยไม้หรือถอนลูกไม้ระหว่างเดินหรือปีนป่ายหน้าผา ไม่ขีดเขียนหรือแกะสลักหรือพ่นสีตามหินผาและต้นไม้ เป็นต้น
- ควบคุมไม่ให้นักท่องเที่ยวส่งเสียงดังอันเป็นการรบกวนสัตว์ป่าและนักท่องเที่ยว ด้วยกันเองในขณะประกอบกิจกรรม
- คอยกำชับนักท่องเที่ยวให้ช่วยเก็บรวบรวมขยะ และนำไปทิ้งในที่ที่จัดไว้โดยไม่มีเศษเหลือตกค้างที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าหรือเป็นมลภาวะทางสายตา
แนวปฏิบัติที่ 2 กิจกรรมท่องเที่ยวที่จัดให้มีขึ้นในแหล่งท่องเที่ยว ควรสร้างประสบการณ์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติแก่นักท่องเที่ยวได้มากที่สุดโดยการ
- จัดให้มีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นแก่นักท่องเที่ยวเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้สื่อแบบต่างๆ เช่น เว็บไซต์ คู่มือเดินทางท่องเที่ยว แผ่นพับ ใบปลิว เป็นต้น
- สอดแทรกข้อมูลความรู้หรือเรื่องราวที่น่าสนใจให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างที่ประกอบกิจกรรมประเภทต่างๆ อาทิ
- จัดให้มีนักสื่อความหมายหรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่นคอยตอบคำถาม และให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องขณะที่นักท่องเที่ยวเข้าร่วมกิจกรรมเดินป่า ชมถ้ำ ล่องเรือ ล่องแก่ง เดินชมแหล่งประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชุมชนท้องถิ่น ฯลฯ
- จัดให้มีป้ายสื่อความหมายหรือนิทรรศการตามจุดชมวิว เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ บริเวณที่มีระบบนิเวศเปราะบาง บริเวณโป่งสัตว์ บริเวณที่มีชนิดพันธุ์สัตว์ป่าใกล้สูญ พันธุ์ หรือหายาก บริเวณที่มีชนิดพันธุ์พืชที่หายากหรือพบเฉพาะถิ่น ฯลฯ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติ รวมถึงเพิ่มความระมัดระวังในพฤติกรรมของตนเอง
- จัดให้มีหน่วยข้อมูลพร้อมเจ้าหน้าที่คอยให้ความปลอดภัย ตอบคำถามและให้ความรู้เรื่องต่างๆ ประจำอยู่ตามบริเวณลานกางเต้นท์ จุดชมวิว บริเวณที่มีนักท่องเที่ยวกระจุกตัวอยู่ จำนวนมาก เป็นต้น
- อาจจัดให้มีหน่วยข้อมูลเคลื่อนที่ไปให้ข้อมูลความรู้ และตอบคำถามตามจุดชมวิว จุดดำน้ำดูปะการังบริเวณอื่น ที่มีนักท่องเที่ยวกระจุกตัวอยู่จำนวนมาก เป็นต้น
การสร้าง กิจกรรมสีเขียว ในพื้นที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
แนวปฏิบัติที่ 1 จัดให้มีกิจกรรมท่องเที่ยวที่สอดคล้องกลมกลืนกับคุณค่าและความโดดเด่นของวัฒนธรรมมากที่สุด และสร้างผลกระทบทางลบน้อยที่สุด
- มีการประเมินศักยภาพของทรัพยากรท่องเที่ยวโดยการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาส และข้อจำกัด เพื่อใช้เป็นฐานในการแยกประเภทของกิจกรรมท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและจัดให้มีขึ้นในแหล่งท่องเที่ยว
- จัดทำแผนและพัฒนาให้มีกิจกรรมท่องเที่ยว เฉพาะที่มั่นใจได้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบทางลบต่อความโดดเด่นหรือคุณค่าของวัฒนธรรมในบริเวณนั้นและบริเวณ ใกล้เคียง
- พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับกิจกรรมท่องเที่ยวที่จัดขึ้นเท่าที่จำเป็น โดยมีปริมาณหรือขนาดที่เหมาะสมกับขีดความสามารถรองรับได้ของบริเวณนั้น เช่น ห้องน้ำ ลานจอดรถ ท่าเทียบเรือ สมอยึดเรือ เป็นต้น
- มีการแจ้งเตือนหรือแจกข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบ หรือข้อควรปฏิบัติ-ไม่ควรปฏิบัติ เกี่ยวกับกิจกรรม ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวรับทราบ พร้อมอธิบายเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องการความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวให้ปฏิบัติตาม
- กิจกรรมท่องเที่ยวที่จัดให้มีขึ้นต้องเป็นที่ยอมรับของคนในท้องถิ่นโดยกิจกรรมเหล่านั้นไม่รบกวนความสงบสุขของคนส่วนใหญ่ ไม่ขัดต่อกฎหมาย วัฒนธรรม และศีลธรรมอันดีงาม
- จัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี คอยอำนวยความสะดวกและควบคุมพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการประกอบกิจกรรมท่องเที่ยว อย่างเช่น
- คอยกำชับให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือข้อควรปฏิบัติ-ไม่ควรปฏิบัติ ระหว่างที่นักท่องเที่ยวประกอบกิจกรรมกำหนดขนาดของกลุ่มนักท่องเที่ยวให้เหมาะสม
- กำหนดรอบหมุนเวียนของการประกอบกิจกรรมแต่ละประเภทละกลุ่มควรเดินห่างกันไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร (หรือราว 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง) เป็นต้น
- กำชับนักท่องเที่ยวให้ช่วยรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ
- ควบคุมไม่ให้นักท่องเที่ยวส่งเสียงดังอันเป็นการรบกวนนักท่องเที่ยวด้วยกันเองในขณะประกอบกิจกรรม
- คอยกำชับนักท่องเที่ยวให้ช่วยเก็บรวบรวมขยะ และนำไปทิ้งในที่ที่จัดไว้โดยไม่มีเศษเหลือตกค้างที่อาจเป็นมลภาวะทางสายตา
แนวปฏิบัติที่ 2 กิจกรรมท่องเที่ยวที่จัดให้มีขึ้นในแหล่งท่องเที่ยว ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของท้องถิ่นแก่นักท่องเที่ยวได้มากที่สุดโดย
- จัดให้มีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นแก่นักท่องเที่ยวเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของท้องถิ่นโดยใช้สื่อแบบต่างๆ เช่น เว็บไซต์ คู่มือเดินทางท่องเที่ยว แผ่นพับ ใบปลิว เป็นต้น
- สอดแทรกข้อมูลความรู้หรือเรื่องราวที่น่าสนใจให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างที่ประกอบกิจกรรมประเภทต่างๆ อาทิ
- จัดให้มีนักสื่อความหมายหรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่นคอยตอบคำถาม และให้ความรู้ความ เข้าใจที่ถูกต้องขณะที่นักท่องเที่ยวเข้าร่วมกิจกรรม เดินชมแหล่งประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชุมชนท้องถิ่น ฯลฯ
- กรณีที่เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี หรือชุมชนท้องถิ่น นอกจากจะจัดให้ มีป้ายสื่อความหมายหรือนิทรรศการแล้ว อาจจัดให้มีการแสดงและการบรรยายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือประเพณีหรือวัฒนธรรมให้แก่นักท่องเที่ยว
- จัดให้มีหน่วยข้อมูลพร้อมเจ้าหน้าที่ คอยให้ความปลอดภัย ตอบคำถามและให้ความรู้เรื่องต่างๆ ประจำอยู่ตามบริเวณลานกางเต้นท์ จุดชมวิว บริเวณที่มีนักท่องเที่ยว กระจุกตัวอยู่จำนวนมาก เป็นต้น