องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(อพท.)คือหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลไทยที่ก่อตั้งในปี 2003 จุดประสงค์คือพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ปฏิบัติการขึ้นตรงภายใต้นายกรัฐมนตรีและตั้งเป้าที่จะสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคมและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ในขณะที่ยังคงรักษาความงามทางธรรมชาติ ประเพณีและวัฒนธรรมของสถานที่ท่องเที่ยวไว้ได้

เกณฑ์การคัดเลือกที่หลากหลายจะถูกนำมาพิจารณาในการเลือกสถานที่ที่กำหนด เช่น ด้านชีววิทยา ด้านกายภาพ ด้านสังคม และความเสี่ยงต่อการทำลายมูลค่าของสถานที่ท่องเที่ยว ศักยภาพของจุดหมายปลายทางในการพัฒนาด้านการจัดสรรกิจกรรมท่องเที่ยว ความยากง่ายในการเดินทางเข้าถึง ความปลอดภัยและโครงสร้างพื้นฐาน และเงื่อนไขด้านการอนุรักษ์และการจัดการสิ่งแวดล้อม จวบจนถึงปัจจุบันนี้ มีสถานที่ 6 แห่งในประเทศไทยที่ได้การจดทะเบียนและมีการใช้มาตรการเข้าจัดการให้สถานที่เหล่านี้มีความยั่งยืนมากขึ้น สถานที่ทั้ง 6 แห่งนี้คือ 1)เกาะช้างและบริเวณใกล้เคียง 2)เมืองพัทยาและบริเวณใกล้เคียง 3)อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชร 4)เมืองเลย 5)เมืองเก่าของจังหวัดน่าน และ 6)เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

บางตัวอย่างของการทำงานของอพท.ที่ช่วยโปรโมทการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนคือการดำเนินโครงการที่สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนและสนับสนุนองค์การบริหารท้องถิ่นในด้านการจัดกิจกรรมท้องถิ่นดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น การแข่งขันเรือยาวล้านนาประจำปีที่จังหวัดน่าน อพท.มีงบประมาณที่แจกจ่ายได้สำหรับกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนท้องถิ่นผ่านการท่องเที่ยว ในหมู่เกาะรอบๆเกาะช้างโดยเฉพาะเกาะหมาก ระบบบำบัดน้ำเสียและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าคือสิ่งที่ช่วยทำให้เกิดสถานที่ท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ โดยการจำแนกตัวแปรต่างๆที่ช่วยเพิ่มรายได้ของชุมชนท้องถิ่นจากวิถีชีวิตศิลปะวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ อพท.ค้นพบว่ารายได้ต่อเดือนของ 3 ชุมชนนำร่อง ได้แก่ ชุมชนสลักคอก ชุมชนน้ำเชี่ยวและชุมชนแหลมกลัด ต่างก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

อพท.เป็นสมาชิกของสภาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโลกและยังคงมองหานวัตกรรมใหม่ๆเพื่อยกระดับชื่อเสียงของประเทศไทยด้านการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในเดือนมกราคมปี 2019 นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ อธิบดีอพท.ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ(MOU)กับยูเนสโกเพื่อเพิ่มความพยายามในการสร้างผลประโยชน์ให้แก่เมืองประวัติศาสตร์อย่างน่านและอู่ทอง ในเดือนพฤษภาคมปี 2019 อพท.ได้ลงงบประมาณ 21 ล้านบาทเพื่อการยกระดับชุมชนในจังหวัดน่าน สุพรรณบุรีและสุโขทัย ซึ่งจะถูกเสนอชื่อเข้าร่วมในการประกวดเมืองสร้างสรรค์ประจำปีของยูเนสโก จังหวัดน่านมีชื่อเสียงในด้านผ้าทอ จังหวัดสุโขทัยมีชื่อเสียงในด้านเครื่องเคลือบ และจังหวัดสุพรรณบุรีมีชื่อเสียงในด้านดนตรีพื้นบ้าน คุณทวีพงษ์ได้กล่าวว่า “หัวใจหลักของจังหวัดเหล่านี้มาจากความแท้จริงและความสร้างสรรค์ของวิถีชีวิตท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม ซึ่งสามารถยกระดับและนำไปเสนอเป็นเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกได้”