การทำให้การท่องเที่ยวมีความยั่งยืนนั้นถือเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่ว่าจะในประเทศใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงว่ากิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆโดยเฉพาะพวกที่เกี่ยวข้องกับที่พักและการเดินทางมีการใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนั้นการมีองค์กรที่ช่วยจับตาดูไม่ให้กิจกรรมการท่องเที่ยวทำร้ายธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นจึงถือว่ามีส่วนช่วยได้อย่างมาก ในแง่นั้นประเทศไทยถือว่าโชคดีที่มีสมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ(สททร.)คอยช่วยดูแลในส่วนนี้

สมาคมนี้ประกอบไปด้วยตัวแทนจาก 6 ภาคส่วนที่แตกต่างของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคือ ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว ผู้ให้บริการที่พัก ร้านอาหาร ผู้นำเที่ยว ชุมชนท้องถิ่นและนักวิชาการ โดยสมาชิกทุกคนมีความเชื่อว่าหนทางเดียวที่จะการันตีถึงความยั่งยืนของการท่องเที่ยวของประเทศคือการเลือกตัวเลือกที่มีความรับผิดชอบมีจิตสำนึก และหลีกเลี่ยงการสร้างผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจของประเทศ

จุดประสงค์หลักของสททร.คือการส่งเสริมและกระตุ้นให้พาร์ทเนอร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมมือกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบที่แท้จริง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทางสมาคมได้ทำการสนับสนุนและพัฒนาแนวคิดของการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ(RT)ในอุตสาหกรรมระดับโลกอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การจัดหาคอร์สฝึกสอนเรื่องการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบที่ได้มาตรฐาน และจัดหามาตรวัดที่สามารถใช้วัดเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ทำให้ทางสททร.สามารถสร้างสะพานเชื่อมระหว่างสากลโลกสู่ท้องถิ่น และสามารถวัดผลกระทบจากการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ

หนึ่งในสมาชิกที่เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆของสททร. Nutty’s Adventures ซึ่งตั้งอยู่ในอยุธยานำเสนอการท่องเที่ยวที่พาผู้เยี่ยมชมเข้าไปสัมผัสกับชุมชนท้องถิ่นโดยตรงโดยไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมหรือวัฒนธรรมท้องถิ่น หนึ่งในการท่องเที่ยวที่ว่ามุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับข้าวของจังหวัดนครปฐม ที่ซึ่งผู้เยี่ยมชมจะได้เก็บไข่จากฟาร์มไก่และบ่อเป็ด สำรวจหมู่บ้านทางจักรยานหรือรถแทรคเตอร์ เรียนรู้จากเด็กนักเรียนเรื่องกลวิธีการทำฟาร์มแบบออร์แกนิค ล่องเรือออกไปในบ่อบัว และเยี่ยมชมทุ่งนาเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับภาระงานประจำวันของชาวนา

อีกหนึ่งสมาชิกของสททร. localalike.com ซึ่งเป็นพื้นที่ตลาดออนไลน์ที่นำเสนอประสบการณ์การท่องเที่ยวในชุมชนท้องถิ่นที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น ‘ค้นพบวิถีชีวิตของของชาวลาหู่’ ที่ดอยปู่หมื่นในจังหวัดเชียงใหม่ ที่นี่ผู้เยี่ยมชมจะได้เข้าชมการเก็บใบชาอัสสัมของชาวบ้าน จากนั้นไปเข้าเยี่ยมชมโรงงานชาและใช้เวลาเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมชาวลาหู่ที่หมู่บ้านปู่หมื่นบนยอดเขาทางเหนือของจังหวัดใหม่