อยากให้คุณ นัท เริ่มจากการเล่าเรื่องของประสบการณ์การทำงาน เริ่มจากอะไร ทำไมถึงชอบโลกใต้น้ำ

ผมเริ่มต้นดำน้ำและรู้จักโลกใต้ทะเลตั้งแต่สมัยเด็ก ประมาณ 8 ขวบ พ่อชอบทะเล ดำน้ำอยู่แล้วก็พาผมไปด้วย มันก็คือ เราได้มีโอกาสเห็นทะเลในวันที่เรียกว่ามีความแตกต่างจากทุกวันอย่างสิ้นเชิง ในสมัยเมื่อสัก 40 ปีแล้วนะผมว่ามันมีหลาย ๆ ที่ในประเทศไทย เกาะหลาย ๆ ที่ในประเทศไทยที่ที่ยังไม่มีระบบจัดการการท่องเที่ยวเข้าไปเหมือนกันทุกวันนี้ เราได้มีโอกาสอาจจะเรียกว่าผมเป็นคนโชคดีชีวิตเกิดและเติบโตมาในยุคสมัยที่ เรายังได้เห็นทะเลในแบบที่มันควรจะเป็นหรือว่าเป็นมาเหมือนกับเมื่อ 100 ปีก่อนหน้านั้นผมได้มีโอกาสเห็นหมู่เกาะสิมิลันในวันที่ยังไม่มีคนสักคนอยู่บนเกาะนั้น

 

 

อยากให้เล่าถึงโลกใต้น้ำที่เราเห็นว่าเป็นอย่างไร

จริง ๆ ความสมบูรณ์ของธรรมชาติคือสิ่งที่เรารู้สึกได้  สิ่งที่ผมรู้สึกมากทุกครั้งเลยเวลาผมไปเกาะอะไรตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ เนี่ยทุกครั้งที่ไปแล้วก็เห็นความเปลี่ยนแปลงแล้วก็เข้าใจว่ามันเป็นเรื่องของโลกนั้นต้องพัฒนาไปตามเวลา แล้วก็ประเทศเรานั้น เราก็ใช้ทรัพยากรเหล่านี้นับเป็นรายได้ให้กับประเทศมาหลายสิบปีแล้ว มันก็จะแตกต่างจากวันแรกที่ผมได้มีโอกาสเห็น มันเหมือนกับว่ามันเป็นเกาะที่ยังไม่เคยมีใครไปมาก่อน

 

 

สำหรับคนที่ไม่ได้ลงใต้น้ำ พอจะพูดถึงได้ไหมคะว่าเป็นอย่างไรบ้าง

จริง ๆ แล้วเนี่ยผมว่าการที่เราจะเริ่มต้นอะไรได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน พื้นฐานก็คือเราต้องรักในสิ่งนั้นก่อนนะ สิ่งหนึ่งก็คือในความรู้สึกเราคือทะเลเนี่ยคือของขวัญ คือสิ่งล้ำค่าที่พ่อได้ให้ผมตั้งแต่ผมเด็ก ได้มีโอกาสพาผมไปสัมผัสกับทะเล มันก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในชีวิตของเราและเมื่อเราเข้าไปสัมผัส เรารู้จัก เราก็รู้สึกอยากจะส่งมอบความรู้สึกนี้ ส่งต่อให้คนอื่น

 

 

ความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันแรกที่เราได้พบเป็นอย่างไรบ้าง อยากให้เล่าหน่อยคะ

ความเปลี่ยนแปลงมันเป็นเรื่องปกติแล้วครับ ผมว่ามันมีหลายส่วน ธรรมชาติทุกที่เมื่อมีมนุษย์เข้าไป มนุษย์เป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลงให้กับเกิดขึ้นในธรรมชาติเพราะว่าเราเนี่ยส่วนใหญ่ความคิดของเราเนี่ยเราไม่พยายามทำตัวเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติแต่เราจะพยายามจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงธรรมชาติให้เหมือนกับความคุ้นเคย เหมือนกับเมืองที่เราคุ้นเคย หลายคนกลับเข้าไปในธรรมชาติแค่ถ่ายภาพตัวเองกับสิ่งที่เป็น background ข้างหลังนั้นเอง แต่ว่าในความเป็นจริงแล้วเนี่ยเรายังไม่ทิ้งความเป็นมนุษย์เมืองเรา เราพยายามปรับเปลี่ยนธรรมชาติให้สบายให้เข้ากับตัวเรา เด็ก ๆ ผมก็ไม่ต้องเข้าใจนะว่าทำไมเราต้องไปนอนเต็นท์ ทำไมเราจะต้องไปอยู่ในที่ที่ไม่มีแอร์ ไม่มีน้ำแข็งกินเลย ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมมาเข้าใจตอนโตว่า การที่ที่เราไปอยู่ลำบากแบบนั้น จริง ๆ ก็ไม่ลำบากนะ มันเป็นความทรงจำที่ดีมาก เพราะจริง ๆ การที่จะสร้างความสะดวกสบายหลาย ๆ อย่างนั้นขึ้นมาเนี่ย มันต้องแลกกับการที่จะเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ สิ่งอย่างที่เป็นเหมือนกับของพื้นที่ตรงนั้นไปเยอะแยะมาก ผมเป็นผู้โชคดีน ะผมด้เห็นเกาะตั้งแต่สมัยที่มีโรงแรม ที่ไม่มีแอร์อยู่เพียงแห่งเดียวบนเกาะ เราเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจนที่สุด

 

 

สิ่งที่เราอยากจะให้นักท่องเที่ยวดูแลเรื่องของโลกใต้น้ำอย่างไร

ผมคิดว่าในส่วนของตัวนักดำน้ำเอง หมายถึงนักดำน้ำที่ได้ผ่านการดำน้ำแบบถูกต้องมาจากสถาบันสอนน้ำนะครับ ทุกคนเนี่ยมีความเข้าใจในระดับหนึ่งอยู่แล้วเพราะว่าเป็นสิ่งที่ในหลักสูตรมีการบันทึกเอาไว้ ทุกคนเข้าใจในธรรมชาติ ทุกคนรักธรรมชาติ ถ้าไม่รักธรรมชาติคงจะไปดำน้ำ แต่ผมว่าในเรื่องของการดำน้ำลึกไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเท่าไหร่ สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือการท่องเที่ยวโดยที่คนที่ท่องเที่ยวเนี่ยไม่มีใครเข้าใจพื้นฐานของธรรมชาติอย่างแท้จริง ซึ่งจริงแล้วเนี่ยผมอยากจะยกตัวอย่างให้ฟังว่า หลายคนไปเที่ยวในแหล่งธรรมชาติก็ไม่เห็นมีอะไรเลย ก็จริงแล้วเนี่ยส่วนตัวผมคิดว่านะถ้าเกิดคิดว่าไปแล้วไม่มีอะไรก็ไม่ต้องไปก็ มันก็หมายความว่าการที่เราลดจำนวนคนที่เข้าไปในธรรมชาติลงไปเนี่ย มันก็ยิ่งถ้าเป็นระบบธรรมชาติน้อยลง แต่ว่าในขนาดเดียวกันผมก็ไม่ได้บอกว่าเราไม่ควรจะมีการท่องเที่ยวในธรรมชาติเลยว่าเพราะถ้าเราผลักให้คนยิ่งห่างธรรมชาติเนี่ยมันก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี ก่อนที่จะไปเราก็ควรจะศึกษาข้อมูลก่อนทุกวันนี้การศึกษาข้อมูลเป็นเรื่องง่ายมากทุกคนมี Google ทุกคนมีศักยภาพในการค้นหาข้อมูลในเน็ตได้อย่างง่ายดาย ศึกษาข้อมูลก่อนไปแล้วก็รู้เต็มใจทำความเข้าใจกับสถานที่เราจะไป สถานที่จะไปที่ต้องตรงกับวัตถุประสงค์ในการไปของเรา เช่นจะไปอุทยานแห่งชาติแล้วก็มาบ่นว่าทำไมไม่มีแอร์ มันก็มีโรงแรมที่พักหลายที่ที่อยู่ใกล้ ๆ แล้วก็มีแอร์สะดวกสบาย

 

 

ในส่วนของตัวนักท่องเที่ยวเอง เที่ยวอย่างเข้าใจ แล้วในส่วนขององค์กรหรือส่วนงานควรจะมีหน้าที่หรือปรับเรื่องใดบ้าง

ผมว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราต้องไม่สปอยนักท่องเที่ยว ไม่ใช่ว่าวันนี้เราไปคิดแทนผมเข้าใจทั้งผู้ประกอบการ ทั้งคนในพื้นที่อยากจะรับมาเที่ยว เพราะมันก็ถือเป็นรายได้สำคัญของชุมชน แต่ว่าบางทีเราไม่ควรจะไปคิดแทนนักท่องเที่ยวว่านักท่องเที่ยวอยากได้แบบนั้นแบบนี้ สิ่งที่ทำให้เขาเดินทางเข้ามาหรือว่าข้ามน้ำข้ามทะเลมาเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวในบ้านเราเนี่ยคืออะไรแล้วกับถามถึงจุดนั้น เขาไม่ต้องอยากมาเห็นเหมือนกับเมืองที่เขาเดินทางมา แต่สิ่งที่อยากมาเห็นคือสิ่งที่มันเป็นของมันอยู่แบบนั้นแหละ

 

 

เรื่องของการจัดการจำนวนนักท่องเที่ยว ทำอย่างไร

จริง ๆ แล้วก็มีความพยายามที่จะเริ่มในหลายพื้นที่เลยนะครับ จริง ๆ แล้วเนี่ยมันเป็นแนวคิดที่เริ่มมา 20 ปีแล้วล่ะ แต่มันไม่รับการปฏิบัติในรูปแบบของความเป็นจริงเท่าไหร่ เพราะว่ามันย้อนแย้งกันกับนโยบายหลักของประเทศเราที่ต้องการจะหารายได้จากการท่องเที่ยว หน้าที่ของของหน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่คือการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงของปริมาณ ซึ่งปริมาณมันก็จะตามมาด้วยจำนวนคือเราวัดทุกอย่างด้วยสิ่งที่เราวัดได้อย่างตัวเลข ซึ่งการจำกัดจำนวนท่องเที่ยวเนี่ยมันเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันกับนโยบายหลักในการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว แต่ในขณะเดียวกันแล้วกลับไม่ถึงว่าเราจะทำยังไงให้แหล่งเที่ยวของเราเนี่ยคงสภาพได้ยั่งยืนอย่างที่มันควรจะเป็นอีก 20-30 ปีอีก 100 ปีเพื่อส่งต่อให้กับลูกหลานต่อไป ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ ในการจัดการท่องเที่ยวเนี่ยทำได้อย่างได้ผลแล้วก็ได้ผลค่อนข้างดีด้วยซ้ำ

 

 

ช่วยยกตัวอย่างว่าเป็นที่ไหนบ้างที่นำโมเดลนี้ไปใช้ได้

1 ปีเนี่ยจะมีท่องเที่ยวที่จะเข้าไปท่องเที่ยวประมาณ 5-6 พันคน เนื่องจากข้อจำกัดของการเดินทาง เรือที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเกาะนั้น การเดินทางที่ค่อนข้างไกลคือเกาะจะอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 36 ชั่วโมงในการเดินทางด้วยเรือ ไม่มีสนามบิน การเดินทางไปก็คือนั่งเรือไป 2 วันจะถึงเกาะแล้วก็เวลากลับก็นั่งเรืออีก 2 วันกลับมา มีเรือที่ได้รับใบอนุญาตยังไม่เกิน 10 รำ สิ่งที่เขาจะจำกัดจำนวนท่องเที่ยวได้คือจำนวนใบอนุญาตที่ออกให้กับเรือที่มีจำกัดอยู่แค่นั้นแหละ ที่สุดค่าใช้จ่ายในการเดินทางก็จะสูงขึ้น ซึ่งมันก็นำมาเฉลี่ยกันกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนน้อย ในขณะเดียวกันในวันที่ก่อนจะมีการจำกัดท่องเที่ยว สิมิลันของเราเคยมีนักท่องเที่ยวสูงสุดใน 1 วันคือ 6000 คน ฉะนั้นเราก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นถึงแม้นักท่องเที่ยวจะปฏิบัติตัวดีแค่ไหนก็ตาม มันก็ต้องมีผลกระทบโดยตรง ยังไม่นับผลกระทบทางอ้อมที่มันใหม่มากมาย

 

 

อย่างนั้นความจริงแล้วเราจะไม่สามารถจัดการเพื่อความยั่งยืนได้เลย เป็ยแบบนั้นไหมคะ

จัดการได้นะตอนนี้ที่มีการปิดตาไม้ยา เป็นการเริ่มต้นที่ผมไม่รู้จะไปได้แค่ไหนแต่ว่าอย่างน้อยเราเริ่มต้นแล้ว เราเห็นคุณค่าของมันแล้วที่ได้มาย้ายไปไม่ถึง 2 ปีเราห็นฉลามกลับมา เปิดมา 40 กว่าปีไม่เคยปิดเลยเราพบว่ามันมีอยู่แต่ฉลามก็ไม่กล้าเข้าใกล้หาด เพราะกลัวคน หรือว่าอย่างนโยบายเรื่องการจัดการประมงในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาเนี่ย ผมว่าได้ผลที่ดีนะ ที่เห็นได้ชัดกับถ้าคุณเป็นนักดำน้ำคุณได้เห็นคุณจะเข้าใจว่าปลาเยอะขึ้นจริง ๆ ทะเลมันกลับมา เราอาจจะไม่เรียกว่ากลับสมบูรณ์เหมือนเดิม แต่ว่ามันก็กลับมาอยู่ในภาวะที่มันควรจะเป็นอีกครั้งหนึ่ง

 

 

ผมผูกพันธ์กับสิมิรันนะ ตอนผมเด็ก ๆ ตอนนั้นผมไปกางเต็นท์อยู่กับพ่อเป็นอาทิตย์ อยู่ด้วยกัน 4 คนผม พ่อ เพื่อนพ่อ ลูกเพื่อนพ่อคนนึง เหมือนกับเราเป็นเจ้าของเกาะ คือเกาะนี้เป็นของเร าสักวันหนึ่งเราก็เติบโตขึ้นมาแล้วก็เห็นว่ามันก็เปลี่ยนแปลงไป อย่างที่ผมเคยพูดไว้หลายครั้งมากผมก็มีลูกอ่ะ วันนึงก็อยากมีโอกาสจะพาลูกสาวไปกางเต็นท์อยู่ในเกาะที่มันเป็นของเราบ้างซึ่งจริงมันก็คงหายากขึ้นแล้วในประเทศไทยเราเนี่ย

 

 

อย่างมีที่ไหนบ้างที่เราคิดว่าเป็นเกาะสวรรค์อยู่สำหรับคนที่รักทะเล

ทุกวันนี้นะผมจะไปดู ผมพยายามไปในที่ที่คนน้อย สำหรับการท่องเที่ยวที่มีการจัดการอย่างดีเยี่ยมแต่ว่าการจะไปมันก็มันก็คงจะลำบากเราก็ต้องมีเรือเราเองไม่ต้องเอาเรือไปอะไรอย่างนี้

 

 

จังหวัดไหนคะ ที่สำหรับคนรักทะเลไม่ควรผลาด

ผมว่ามันเหลือน้อยมากเลยครับเพราะว่าทุกทีเนี่ยก็เห็นคุณค่าของทรัพยากร ผมอาจโชคดีที่เกิดมาในยุคสมัยที่ยังมีเกาะ เรียกว่าเกาะร้างห่างไกลอีกเยอะมาก ทุกวันนี้มันเหมือนไกล้ไปหมดอ่ ะเราอยากไปสิมิลันพรุ่งนี้ขึ้นเครื่องไปวันนี้ก็ไปถึงแล้ว หรือสมัยก่อนต้องมีการเตรียมตัวและเตรียมอาหารเพื่อจะไปอยู่ที่นั่น

 

 

ที่ไหนที่ไปได้ง่ายก็ยิ่งมีความเสี่ยงเยอะใช่ไหมคะ

ที่ไหนยิ่งไปได้ง่าย  คนก็สามารถจะไปโดยที่ไม่ต้องไม่ต้องคิดไม่ต้องเตรียมตัวเลย นัดกันวันนี้พรุ่งนี้ก็ไปกันได้แล้ว ความสะดวกสบายในมุมหนึ่งมันก็เป็นตัวเร่งในการที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น