หัวใจสีเขียว
“เที่ยวด้วยใจคิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีทัศนคติ ความรู้สึกนึกคิด การรับรู้ และตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม และภัยคุกคามจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อการท่องเที่ยว พร้อมมีการปฏิบัติเพื่อป้องกันรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยความรู้ ความเข้าใจ และวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
ถ้าหากจะยกคำสอนในพระพุทธศาสนามาใช้อ้างอิงในข้อนี้ ก็คิดว่าชาวพุทธส่วนใหญ่มักจะเคยได้ยินว่าการจะทำอะไรให้สำเร็จนั้น “ย่อมต้องมีใจมุ่งมั่น หรือมีใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน” เช่นเดียวกับกรณีนี้ หากใครที่มีหัวใจสีเขียว คือคนที่ใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อม บุคคลผู้นั้นก็ย่อมคำนึงถึงผลกระทบของสิ่งที่ตนกระทำอยู่เสมอ และเขาก็จะหาหนทางในการลดผลกระทบ ทำทุกวิถีทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยไม่ต้องอาศัยกฎเกณฑ์มาบังคับกะเกณฑ์ ทว่า เราจะทำอย่างไรให้คนมีใจสีเขียวได้อย่างไร คงต้องประกอบด้วย 3 ปัจจัย
1. ความรู้
2. ความเข้าใจ
3. เห็นความสำคัญ
ความรู้ในที่นี้ก็คือ การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร การติดตามปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในมุมต่างๆของโลก จะทำให้เราได้ทราบว่าสภาวะของโลกกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง สถานการณ์ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์และสัตว์หลากหลายสายพันธุ์อย่างที่เราเองก็คาดไม่ถึง ไม่ว่าสถานการณ์ของการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกที่เร็วขึ้นส่งผลต่อการอยู่รอดของหมีขั้วโลก ผลกระทบที่ตามาเป็นลูกโซ่คือการคาดการณ์ว่าโลกอาจต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมโลก ส่งผลไปถึงแหล่งอาหารของมนุษย์ สภาพภูมิอากาศแปรปรวนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำอุ่นและน้ำเย็นที่เคยไหลเวียนไปทั่วทุกทวีปของโลก การเปิดใจรับรู้สภาพความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ย่อมนำมาซึ่งการตระหนักในฐานะที่เราเป็นมนุษย์ที่ต้องอาศัยอยู่บนโลก และในฐานะของผู้ก่อผลกระทบแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม
แน่นอนว่าข้อมูลข่าวสารที่เปิดรับมากขึ้น ย่อมสร้างความเข้าใจ และทำให้เห็นถึงความเกี่ยวเนื่องของสิ่งแวดล้อม ปัญหาที่เกิดขึ้นในธรรมชาติไม่ว่าในมุมใดของโลก ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นห่วงโซ่มาถึงเราเข้าสักวัน เมื่อรู้มากขึ้น เข้าใจมากขึ้น สองสิ่งนี้จะทำให้เราเห็นถึงความสำคัญว่าเหตุใดเราจึงต้องลงมือทำ
ไม่ว่าจะเริ่มต้นด้วยการลดการใช้ทรัพย์ยาการธรรมชาติ ปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันเพื่อไม่สร้างมลภาวะต่อโลกให้มากขึ้น กระทั่งพยายามหาวิธีใช้และรักษา น้ำ ดิน อากาศ ป่าไม้ ฯลฯ อย่างรู้คุณค่า
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเองนั้นได้จำแนกการสร้างหัวใจสีเขียวสำหรับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โดยจัดทำเป็นแนวทางการปฏิบัติที่สามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดผลอย่างแท้จริงคือ