แม่กำปองเป็นหมู่บ้านเล็กๆที่มีประชากรประมาณ 500 คนซึ่งตั้งอยู่บนดอยห่างออกไป 55 กิโลเมตรทางตะวันออกของจังหวัดเชียงใหม่ ล้อมรอบไปด้วยผืนป่าหนาแน่นและสภาพอากาศที่เย็นกว่าหุบเขาเชียงใหม่ แต่มีนักท่องเที่ยวไม่มากไม่ว่าจะจากในประเทศหรือจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามใน 20 ปีที่ผ่านมาการเข้ามาของการท่องเที่ยวโดยชุมชน(CBT)ได้เปลี่ยนโฉมหมู่บ้านที่เคยหลับใหลนี้ให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง มีโฮมสเตย์ มีร้านกาแฟน่ารักๆ และแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นเช่นไร่ชาไร่กาแฟ น้ำตกและจุดชมวิว

หนึ่งในเสน่ห์น่าดึงดูดใจของแม่กำปองคือสถาปัตยกรรมท้องถิ่น บ้านเกือบทุกหลังสร้างขึ้นจากไม้ซึ่งทำให้ดูกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมรอบๆ สำหรับผู้เยี่ยมชมที่เดินไปตามถนนสูงชันและคดเคี้ยวผ่านหมู่บ้านคงจะรู้สึกราวกับว่าได้ย้อนกลับไปในประเทศไทยในอดีตเลยทีเดียว

การท่องเที่ยวโดยชุมชนเน้นย้ำความสำคัญของชุมชนท้องถิ่นและเปิดโอกาสให้คนท้องถิ่นควบคุมการพัฒนาและการจัดการภายในชุมชนเพื่อให้แน่ใจว่าผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะถึงมือคนท้องถิ่น นี่เป็นเหตุที่ชาวบ้านหลายคนที่แม่กำปองเปิดบ้านของตนเป็นโฮมสเตย์ที่ผู้เยี่ยมชมจะได้หลับนอนและรับประทานอาหารกับเจ้าของบ้าน และเรียนรู้ถึงชีวิตในชุมชนชนบทจากประสบการณ์ตรง ซึ่งอาจรวมไปถึงการเยี่ยมชมไร่ชาไร่กาแฟหรือเรียนรู้การทำอาหารเหนือรสชาติอร่อย

ในตอนที่แม่กำปองยังเป็นหมู่บ้านเกตรกรรม ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของที่นี่คือ ‘เมี่ยง’ ชาหมักประเภทหนึ่งที่ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีการค้นพบวิธีการใช้ใบชาที่สร้างสรรค์คือการนำมาทำเป็นไส้ยัดหมอนและขายเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งมีสรรพคุณช่วยเรื่องอาการนอนไม่หลับและทำให้อายุยืน ยังมีของฝากอย่างอื่นที่โดดเด่นไม่แพ้กันที่ชาวบ้านภูมิใจนำเสนอให้ผู้เยี่ยมชม อาทิเข่น น้ำผึ้งธรรมชาติ ไม้ประดับ และตะกร้าสาน การมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือนเป็นประจำยังหมายความว่าชาวบ้านบางคนสามารถสร้างรายได้จากการเป็นไกด์ทัวร์นำนักท่องเที่ยวชมตามเส้นทางธรรมชาติในป่า หรือจากการเป็นพนักงานนวด ช่างฝีมือหรือเจ้าของร้านกาแฟ

การท่องเที่ยวโดยชุมชนเน้นย้ำความสำคัญของชุมชนท้องถิ่นและเปิดโอกาสให้คนท้องถิ่นควบคุมการพัฒนาและการจัดการภายในชุมชนเพื่อให้แน่ใจว่าผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะถึงมือคนท้องถิ่น นี่เป็นเหตุที่ชาวบ้านหลายคนที่แม่กำปองเปิดบ้านของตนเป็นโฮมสเตย์ที่ผู้เยี่ยมชมจะได้หลับนอนและรับประทานอาหารกับเจ้าของบ้าน และเรียนรู้ถึงชีวิตในชุมชนชนบทจากประสบการณ์ตรง ซึ่งอาจรวมไปถึงการเยี่ยมชมไร่ชาไร่กาแฟหรือเรียนรู้การทำอาหารเหนือรสชาติอร่อย

ในตอนที่แม่กำปองยังเป็นหมู่บ้านเกตรกรรม ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของที่นี่คือ ‘เมี่ยง’ ชาหมักประเภทหนึ่งที่ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีการค้นพบวิธีการใช้ใบชาที่สร้างสรรค์คือการนำมาทำเป็นไส้ยัดหมอนและขายเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งมีสรรพคุณช่วยเรื่องอาการนอนไม่หลับและทำให้อายุยืน ยังมีของฝากอย่างอื่นที่โดดเด่นไม่แพ้กันที่ชาวบ้านภูมิใจนำเสนอให้ผู้เยี่ยมชม อาทิเข่น น้ำผึ้งธรรมชาติ ไม้ประดับ และตะกร้าสาน การมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือนเป็นประจำยังหมายความว่าชาวบ้านบางคนสามารถสร้างรายได้จากการเป็นไกด์ทัวร์นำนักท่องเที่ยวชมตามเส้นทางธรรมชาติในป่า หรือจากการเป็นพนักงานนวด ช่างฝีมือหรือเจ้าของร้านกาแฟ