Greennery เริ่มประมาณ 2 ปีที่ผ่านมานะครับ เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนโดย สสส. นะครับ มีเป้าหมายที่จะทำให้ผู้บริโภคคนเมืองให้หันมาสนใจการบริโภคอาหารปลอดภัยรวมถึงการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย

 

แล้วโปรเจ็คส์นี้มีกิจกรรมอะไรบ้าง ที่จะตอบสนองเป้าหมายที่วางไว้คะ

 

ตัวเป้าหมายของเรานั้นมีการป้องกันและการสร้างเครือข่ายผู้บริโภคอาหารปลอดภัย โดยที่จะมีแพลตฟอร์มที่เป็นออนไลน์หรือเว็บไซต์กับโซเชียลมีเดีย คือเราจะพยายามรวบรวมคนทำเรื่องให้น่าสนใจและทำให้คนเข้ามาได้รู้ ได้สร้างความตระหนักให้กับผู้บริโภคนะครับ จากคนที่ยังไม่เคยสนใจเรื่องอาหารปลอดภัยหรือไม่สนใจเรื่องของการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนพฤติกรรม แล้วก็ใช้เนื้อหาที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นบทความหรือคลิปวิดีโอ รวมถึงเราจะมีกิจกรรมออฟไลน์ด้วย จะมีพวก Event เป็นต้น ประมาณเดือนละครั้งนะครับ แล้วก็มีกิจกรรมอบรม workshop สอนเรื่องการการทำอาหาร การคัดเลือกอาหารปลอดภัยมาบริโภครวมถึงการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การนำของเหลือใช้ต่างๆมาทำเป็น DIY ของใช้อีกครั้งครับ

 

 

แล้วผลตอบรับเป็นอย่างไรบ้างคะ

 

เปิดมาประมาณ 2 ปีครับ ตอนนี้ก็มีคนติดตามในเว็บไซต์ หาอ่านบทความเว็บไซต์ประมาณ 800,000 คน แล้วก็มี Facebook ที่มีคนติดตามประมาณ 100,000 คนแล้ว พอดีเนื้อหาที่เราทำเป็นเนื้อหาที่บอกแปลงจากเนื้อหาที่อ่านยาก เข้าใจยาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารปลอดภัย เรื่องสิ่งแวดล้อม ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่มาฟังกันก็จะสงสัยนิดนึงว่าให้มันยากนะ แต่เราก็ได้ทีมคนที่ทำ Content ที่ดีที่น่าสนใจเข้ามาแล้วทำให้คนกลุ่มคนรุ่นใหม่นะครับและทำให้คนรุ่นใหม่สนใจติดตามอยู่เรื่อย ๆ ครับ

 

 

แล้วในส่วนของกิจกรรมออฟไลน์ เป็นยังไงบ้างคะ

 

เราจัดตลาด Greennery มาร์เก็ตมาทั้งหมดประมาณ 18 ครั้ง ก็มีคนเข้าร่วมตลาดระหว่าง 2000-3000 คนในแต่ละครั้ง แล้วก็ได้รับผลค่อนข้างดีครับ ตลาดที่เราไปจัดอยู่ใจกลางเมืองเป็นส่วนใหญ่ อยู่ใกล้การเดินทางที่สะดวกใกล้ BTS หรือว่าอยู่ในบริเวณที่คนผ่านไปผ่านมาตลอด ประมาณศูนย์การค้าครับ

 

 

แล้วมีการจำแนกกลุ่มเป้าหมายที่เข้าติดตามเราไหมคะ ว่ากลุ่มไหนที่สนใจในเรื่องนี้มากที่สุด เพราะอะไร

 

กลุ่มเป้าหมายคือเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่เลยครับ วัยรุ่นกับกลุ่มคนทำงานที่ใช้ชีวิตรีบเร่ง บางทีอาจไม่มีเวลาสนใจว่าจะกินอาหารปลอดภัย อาหารปลอดภัยอะไร ไปหาซื้อที่ไห นซื้อมาแล้วก็อาจจะไม่มีเวลาปรุง เราก็วิเคราะห์ออกมาว่าจะทำยังไงให้คนกลุ่มเรานี้ ถ้าอยากจะไปซื้อทานเลยก็จะไปที่ไหน แล้วก็ยังชี้เป้าว่าจะซื้อมามามาปรุงเองจะซื้อของสดที่ไหนที่จะปลอดภัยหรือซื้อมาแล้วจะทำอย่างไร แล้วก็มีการสอนทำอาหาร ก็จากที่เราปรับเปลี่ยนมาระยะเวลา 2 ปี ทำเราเรียนรู้ว่าเราต้องทำตอบโจทย์คน บุคคลเหล่านี้จะเห็นจุดที่เขาต้องการอยากจะได้ความรู้เพิ่ม

 

 

สิ่งที่เราสัมผัส ถ้าให้เราวิเคราะห์ไหมคะว่าเราจะทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้มีจำสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มันยั่งยืน

สำหรับคนรุ่นใหม่ ถ้าเราไปบอกว่าโลกร้อนน้ำจะท่วมโลกหรือว่าโลกร้อนแล้วสัตว์บางตัวจะสูญพันธุ์คิดว่เขามองว่ามันไกลตัวเกินไปอาจจะไม่ทำให้เขาเปลี่ยนแปลงได้ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจเขาได้คิดว่าการที่บอกว่าโลกร้อนมันส่งผลอย่างไรโดยตรง มันจะทำให้เขารู้สึกว่ามันถึงเวลานั้นมันส่งผลกระทบ ถึงเวลาเขาต้องเปลี่ยนแล้วแหละ ต้องทําอะไรสักอย่างแล้วครับ ก็พูดถึงผลกระทบที่จะเข้าถึงตัวเขา พอดีช่วงนี้ เป็นช่วงของฝุ่น PM 2.5 เรื่องของพลาสติกที่จะลงไปในน้ำแล้วเกิดเป็นไมโครพลาสติก เราต้องทำให้เขานึกถึงว่าต้องกลับมาดื่มน้ำที่มีพลาสติกอยู่ในนั้นครับ

 

 

สิ่งที่กลุ่มนี้สนใจเวลาทำกิจกรรม มีเทคนิคอะไรไหมคะที่จะแนะนำสำหรับคนทั่วไปที่จะช่วยกันคะ

 

คือประเด็นในการนี้ทำไมเขาหันมาสนใจ อย่างแรกคือจะทำให้เขาจะเปลี่ยนทัศนคติ จากที่เขาไม่เคยสนใจ มาทำไมเขาสนใจ เล่าเรื่องว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบสำหรับเขาอย่างไรบ้าง แล้วถ้าเขาเปลี่ยนมาช่วยขยับเขยื้อนเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง มันส่งผลเล็ก ๆ ที่เขาจะทำให้สังคมหรือส่งผลให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นได้ครับ

 

 

มันช่วยได้มากน้อยแค่ไหนคะ

 

การที่ทำให้เขาเห็นผลลัพธ์จริง ๆ อยากให้ตัวเขาเองคนใกล้ ๆ ตัวคนรอบตัว เห็นชัดที่สุด สุดท้ายเอาดาราคนดังมาพูดมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันเถอะ คือเขาดูว่าจะชอบ แต่มันก็จะผ่านไป แต่ถ้าเขาเห็นคนรอบตัวทำทุก ๆ วัน ก็เกิดความรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ปกติแล้วเขาก็อยากจะทำ แล้วก็ทำมันได้ ไม่ใช่เรื่องยากนะครับผมว่ารอบๆตัวเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า

 

 

แล้วในฐานะที่อยู่ในแวดวงสีเขียว เห็นเทรนหรือว่าปัญหาในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่คิดว่าควรจะสนใจมากกว่านี้คะ

 

หลัก ๆ ที่ทำจะเป็นเรื่องของการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เรื่องหลอดพลาสติก เรื่องของถุงพลาสติกต่างๆนะครับ รวมไปถึงแก้วที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ผมคิดว่าตรงนี้เป็นสิ่งที่เราเปลี่ยน เรายกเลิกการใช้มันง่ายมากเลย คือไม่ใช่หลอดเลยหรือเอาแก้วส่วนตัวไปเองเวลาไปร้านกาแฟ ก็สามารถลดการใช้พลาสติกได้วันละหลายชิ้นเลย ถ้าเราพยายามจะให้เขาเห็นว่าการที่เขาเปลี่ยน เขาทำทุกวัน จะพูดถึงในระยะยาวมันลดการใช้แก้ว เอาแก้วไปซื้อกาแฟ เขาลดหลอด ลดฝา ลดแก้ว วันนึง 3 ชิ้น เราจะพูดถึงผลรวมว่า 3 ชิ้นใน 1 ปี 300 กว่าวัน เขาลดพลาสติกได้ 1000 กว่าชิ้นเลย คนก็เริ่มหันมามองว่ามันก็ไม่น้อย คนเราก็มีอายุอย่างน้อย 60 – 70 ปี รวมแล้วลดได้เป็นหมื่น ๆ ชิ้นเลย เพียงแค่กาแฟแก้วเดียว เพราะหลอดพลาสติกใช้เวลาย่อยสลาย 200 ปี หรือบางชิ้นใช้เวลาถึง 400 ปีเลยครับ

 

ให้เขาเห็นว่าสิ่งที่เขาเปลี่ยนแปลงแต่มันสร้าง Impact ใหญ่ ๆ เหมือนกันครับ คือเราจะไม่พูดในเชิงนโยบายเพราะมันต้องรออีกนาน ผมมักจะพูดกันในกลุ่มว่าสุดท้าย จะพูดถึงกันว่าเราต้องลงมือทำกันเองนะครับเราก็จะมีคำพูดที่พูดบ่อยๆคือเปลี่ยนโลกได้แค่เริ่มทำ ถ้าเราทำกันเองนะแล้วก็เริ่มเปลี่ยนละเล็กละน้อยก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

 

 

ถ้าอย่างนั้นโปรเจคส์ของ Greennery ในปีนี้ มีอะไรที่อยากจะฝากไปให้คนที่สนใจเข้ามาร่วมบ้างไหมคะ

 

คนที่สนใจเข้ามาร่วมกับเรา เราก็มีแคมเปญรณรงค์ลดการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวันและก็เป็นกลุ่มใน Facebook ในปัจจุบันมีคนเข้าร่วมประมาณ 20,000 คน ถือว่าค่อนข้างเร็วใช้เวลาประมาณประมาณ 18 เดือนที่ผ่านมา ทุกวันก็จะมีคนที่พกแก้วส่วนตัวซื้อกาแฟหรือไม่ใช้ถุงพลาสติก ทุกคนจะมารายงานวันนี้ไม่ใช่ถุงพลาสติกแล้วนะ วันนี้เอาแก้วส่วนตัวไปซื้อกาแฟแล้วก็ถ่ายรูปมาให้ดูกันวันนี้ฉันไม่ใช้หลอดมันก็เป็นการออกเสียงกันซึ่งกันและกันว่าใครเข้ามาก็จะได้ดีจังเลยมากดไลค์กดแชร์เขารู้สึกว่าเขามี Mission ประจำวันเขาจะนี้เขาทำ เขาไม่ได้โดดเดี่ยวคือเข้ามาแล้วยังมีคนที่ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน บางคนก็เผลอได้หลอดพลาสติกมา เขาก็บอกว่าวันนี้เฟลนะโดนหลอกจากร้านค้ามา ก็มีการเชียร์ให้กำลังใจกัน ก็น่ารักดีครับ ก็อยากชวนทุกคนเข้ามาร่วมกันที่กลุ่มนี้

 

 

แล้วมีกิจกรรมอื่น ๆ อีกไหมคะ

 

เราจะเปลี่ยนย้ายสถานที่ไปเรื่อย ๆ ก็สามารถติดตามบนเว็บไซต์ได้ ก็จะมีเป็นตลาดที่จะร่วมเกษตรกรที่ทำงานเกษตรอินทรีย์และก็คนที่ทำผลิตภัณฑ์ด้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประมาณ 30-40 รายต่อครั้ง มาจำหน่ายสินค้านะครับ ก็รวมถึงภายในตลาดจะมีการรณรงค์ไม่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายไม่ได้ จะมีการรณรงค์ให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้รวมถึงขยะที่เกิดขึ้นภายในตลาด จะมีการบริหารจัดเก็บในนี้ต้องรีไซเคิลก็จะส่งส่งไปรีไซเคิล อันไหนที่มันสลายได้ถูกส่งมาทำเป็นปุ๋ยต่าง ๆ ด้วยครับ ก็จะมีการจัดแยกขยะอย่างเป็นระบบสมควรก็อยากชวนกันไปร่วมส่งเสริมตลาดที่ส่งเสริมให้คนเข้าถึงอาหารปลอดภัยแล้วก็เชื่อมโยงเกษตรกรให้มาเจอกับผู้บริโภค เกษตรกรน่ารักมากก็จะมาเล่าเรื่องของสิ่งที่เขาพยายามทำการถนอมผลิตภัณฑ์ผลผลิตต่าง ๆผลไม้ต่างว่าเลี้ยงดูยังไงโดยที่ไม่ต้องใช้เคมี ไม่ต้องใช้ปุ๋ยต่าง ๆ นะครับ แล้วก็มีเรื่องของการหาผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปต่าง ๆ ที่เป็นของใช้ ไม่ว่าจะเป็นแชมพู ยาสีฟันแตกต่างที่ทำจากธรรมชาติ อยากให้เรามาดูกัน

 

 

แล้ววันนี้ สินค้าที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม มีจำนวนมากพอสำหรับความต้องการที่จะตอบโจทย์ตรงนี้คะ

 

ถ้าพูดถึงก็จะได้แบ่งเป็นเรื่องของอาหาร เป็นเรื่องของของใช้ ตอนนี้มันจะเป็นกระแสที่ค่อนข้างมาแรงพอสมควร และก็มีคนที่นำเข้ามาจำหน่ายกันพอสมควรเลยครับ เรียกว่าคนซื้อมา คนขายก็เข้ามากันเรื่อย ๆ คิดว่าถ้าเราส่งเสริมกันอยู่เรื่อย ๆ ตลาดก็จะเติบโตเกิดขึ้นครับ

 

 

อยากให้ฝากถึงคนทั่วไปหรือคนรุ่นใหม่ ว่าจะทำอย่างไรให้สร้างจิตสำนึกสีเขียวมีความยั่งยืน

 

สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคนต้องช่วยกันโลกมีอยู่ใบเดียว ไม่มีโลกสำรองและคิดว่าเราจะอยากอยู่กับมันนาน ๆ ถ้าอยากให้ลูกหลานเรามีโลกดี ๆ อยู่ก็มาช่วยกันครับช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้มันดีขึ้นครับ